วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

🌈บันทึกครั้งที่ 14🌈

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2562

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย


Learning Provision in Early Childhood Education


🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵

💜Story of subject💜


วันนี้เป็นการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์รอบที่ 2 


หน่วยกล้วย



หน่วยอาชีพ

หน่วยคมนาคม












assessment teacher🙍

คุณครูจ๋าคอยให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์

assessment friend 🚶🚶

เพื่อนๆตั้งใจเรียน ดูกิจกรรม ให้ความร่วมมือ ไม่คุยเสียงดัง

assessment me👩

ตั้งใจทำกิจกรรม ออกไปเป็นนักเรียนตอนเพื่อนสาธิตกิจกรรม


🌈บันทึกครั้งที่ 13🌈

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2562

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย


Learning Provision in Early Childhood Education


🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵

💜Story of subject💜


วันนี้เป็นการสาธิตวิธีการสอนวันแรก 

หน่วยร่างกาย

หน่วยอาหารดี

หน่วยวันปีใหม่


หน่วยกลางวันกลางคืน

หน่วย ของเล่น ของใช้ 

หน่วยสี 

หน่วยอาหารหลัก 5 หมู่

assessment teacher🙍

คุณครูจ๋าคอยให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม

assessment friend 🚶🚶

เพื่อนๆตั้งใจเรียนดูกิจกรรม ให้ความร่วมมือ ไม่คุยเสียงดัง

assessment me👩

ตั้งใจทำกิจกรรม ออกไปเป็นนักเรียนตอนเพื่อนสาธิตกิจกรรม


🌈บันทึกครั้งที่ 12🌈

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2562

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย


Learning Provision in Early Childhood Education


🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵

💜Story of subject💜


วันนี้พวกเราเรียนเกี่ยวกับ 
- กรวยแห่งการเรียนรู้
- ทักษะ ef
- การจัดการเรียนการสอนแบบไฮสโคป






กรวยแห่งการเรียนรู้

Active Learning คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ และได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป เป็นการจัดกิจกรรมเรียนรู้ภายใต้สมมติฐาน 2 ประการ คือ
1. การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์
2. แต่ละคนมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
1. กระบวนการเรียนรู้ Passive Learning
• กระบวนการเรียนรู้โดยการอ่านท่องจำผู้เรียนจะจำได้ในสิ่งที่เรียนได้เพียง 10%
• การเรียนรู้โดยการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว โดยที่ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมอื่นในขณะที่อาจารย์สอนเมื่อเวลาผ่านไปผู้เรียนจะจำได้เพียง 20%
• หากในการเรียนการสอนผู้เรียนมีโอกาสได้เห็นภาพประกอบด้วยก็จะทำให้ผลการเรียนรู้คงอยู่ได้เพิ่มขึ้นเป็น 30%
• กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพิ่มขึ้น เช่น การให้ดูภาพยนตร์ การสาธิต จัดนิทรรศการให้ผู้เรียนได้ดู รวมทั้งการนำผู้เรียนไปทัศนศึกษา หรือดูงาน ก็ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้นเป็น 50%
2. กระบวนการเรียนรู้ Active Learning
• การให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ ความเข้าใจนำไปประยุกต์ใช้สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าหรือ สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และพัฒนาตนเองเต็มความสามารถ รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เขาได้มีโอกาสร่วมอภิปรายให้มีโอกาสฝึกทักษะการสื่อสาร ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 70%
• การนำเสนองานทางวิชาการ เรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง ทั้งมีการฝึกปฏิบัติในสภาพจริง มีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผลการเรียนรู้เกิดขึ้นถึง 90%
ทักษะ ef

ทักษะ EF คือ กระบวนการทางความคิดในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ เป็นความสามารถของสมองที่ใช้บริหารจัดการในชีวิตเรื่องต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถตั้งเป้าหมายในชีวิต รู้จักวางแผน มีความมุ่งมั่น จดจำสิ่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งรู้จักริเริ่มลงมือทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน

การเรียนการสอนแบบไฮสโคป
ไฮสโคป (High Scope) เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน จะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด  ความรู้  ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง

assessment teacher🙍

คุณครูจ๋าสอนสนุก เข้าใจง่าย คอยให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาต่างๆ

assessment friend 🚶🚶

เพื่อนๆตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือ ไม่คุยเสียงดัง

assessment me👩

ตั้งใจทำเรียน มาเรียนตรงเวลา




🌈บันทึกครั้งที่ 11🌈

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2562

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย


Learning Provision in Early Childhood Education


🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵

💜Story of subject💜


วันนี้คุณครูจ๋าได้ทบทวนเกี่ยวกับแนวคิดของเพียเจต์ ในเรื่องของการทำงานของสมอง

เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม

การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment)
การจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัยมีความสําคัญต่อการพัฒนาและการเรียนรู้ของเด็ก ตามหลักการของไฮสโคปถือว่าสิ่งแวดล้อมเป็นเสมือนครูคนที่ 3 และเป็นส่วนหนึ่งของวงล้อการเรียนรู้ ซึ่งมีสาระครอบคลุม 3 เรื่อง ได้แก่ พื้นที่ สื่อ และการจัดเก็บ โดยแต่ละเรื่องมีรายละเอียด ดังนี้
พื้นที่ (Space)
เด็กปฐมวัยเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทํา เด็กจึงต้องการพื้นที่ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ พื้นที่ในการใช้สื่อต่างๆ สํารวจ เล่นก่อสร้าง และแก้ปัญหา พื้นที่ในการเคลื่อนไหว พื้นที่ส่วนตัว พื้นที่สําหรับเล่นคนเดียวและเล่นกับผู้อื่น พื้นที่เก็บของใช้ส่วนตัว และจัดแสดงผลงาน พื้นที่สําหรับผู้ใหญ่ที่จะร่วมเล่นและสนับสนุนความสนใจของเด็ก การจัดแบ่งพื้นที่ภายในห้องเรียนจะประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้
1. พื้นที่เก็บของใช้ส่วนตัวของเด็ก เช่น ผ้ากันเปื่อน แปรงสีฟันแก้วนํ้า ฯลฯ อาจจะเป็นตู้ยาวแยกเป็นช่องรายบุคคล หรือชั้นวางของเป็นช่องๆ โดยมีชื่อเด็กติดแสดงความเป็นเจ้าของ
2. พื้นที่กิจกรรมกลุ่มใหญ่ เช่น กิจกรรมฟังนิทาน ร้องเพลงเคลื่อนไหว ฯลฯ ที่ทําร่วมกันทั้งชั้นเรียน
3. พื้นที่กิจกรรมกลุ่มย่อย เช่น กิจกรรมศิลปะร่วมมือ กิจกรรมทําหนังสือนิทานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย กิจกรรมเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ฯลฯ โดยสมาชิกกลุ่มที่เหมาะสม คือ 4-6 คน ทั้งนี้เพื่อครูจะได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์ได้ใกล้ชิดและทั่วถึงมากขึ้น
4. พื้นที่สําหรับมุมเล่น ไฮสโคปได้กําหนดให้มีมุมพื้นฐาน 5 มุม ประกอบด้วย มุมหนังสือ มุมบล็อก มุมบ้าน มุมศิลปะ และมุมของเล่นซึ่งหมายถึงเครื่องเล่นสัมผัส เกมและของเล่นบนโต๊ะ ทั้งนี้ ไฮสโคปมีหลักการเรียกชื่อมุมต่างๆ ด้วยภาษาที่เด็กเข้าใจ จะไม่ใช้ภาษาซึ่งเป็นนามธรรมมากๆ เช่น มุมบทบาทสมมติ มุมเครื่องเล่นสัมผัส นอกจากนี้ ไฮสโคปเชื่อว่ามุมเล่นต้องเปลี่ยนแปลงไปตามความสนใจของเด็ก เช่น เมื่อเด็กเกิดความสนใจหลากหลายมุมบ้านก็อาจปรับเปลี่ยนเป็นมุมร้านเสริมสวยมุมหมอ หรือมุมร้านค้าได้ตามบริบทของสิ่งที่เด็กสนใจในขณะนั้น
5. พื้นที่เก็บของใช้ครู เช่น หนังสือ คู่มือครู เอกสารโปรแกรมสื่อการสอนส่วนรวมของชั้นเรียน เช่น วัสดุศิลปะต่าง ๆ เป็นต้น

คุณครูจ๋าให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม สองกลุ่มเป็นการฟังจังหวะเพลงโดยการให้เพื่อนเข้าไปอยู่ในวงกลมพอเพลงเปลี่ยนจังหวะให้หยุดตรงหน้าเพื่อนทำท่าอะไรก็ได้ให้เพื่อนทำตามวนจนจบเพลง

วิธีการนี้เป็นการนำจังหวะและดนตรีเข้ามาใช้เพื่อดึงความจำไปใช้งานเมื่อจังหวะเปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยนท่า เรียกว่า Working memory



assessment teacher🙍

คุณครูจ๋าสอนสนุก เข้าใจง่าย คอยให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม

assessment friend 🚶🚶

เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรม ให้ความร่วมมือ ไม่คุยเสียงดัง

assessment me👩

ตั้งใจทำกิจกรรม ออกไปทำกิจกรรม


🌈บันทึกครั้งที่ 10🌈

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2562

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย


Learning Provision in Early Childhood Education


🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵

💜Story of subject💜


วันนี้คุณครูจ๋าได้เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับสารานิทัศน์และเพลงที่ใช้ทำกิจกรรมกับเด็ก




สารนิทัศน์ มาจากคำว่า “สาระ” หมายถึง ส่วนสำคัญ ถ้อยคำ มาผสมกับคำว่า “นิทัศน์” หมายถึงตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นดังนั้น “สารนิทัศน์”จึงมีความหมายว่า ส่วนสำคัญที่นำมาเป็นตัวอย่างแสดงให้ผู้อื่นเห็น ในทางการศึกษาปฐมวัยมีคณาจารย์นำสารนิทัศน์มาใช้อย่างหลากหลายโดยสารนิทัศน์ให้ประโยชน์ต่อการแสดงภาพของเด็กโดยกระบวนการด้านเอกสารข้อมูลอย่างชัดเจน ดังนั้น การจัดทำสารนิทัศน์ จึงหมายถึง การจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานหรือแสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรม ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มซึ่งหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวที่บันทึกเป็นระยะๆ จะเป็นข้อมูลอธิบายภาพเด็ก ที่บ่งบอกถึงพัฒนาการของเด็กได้ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมสติปัญญา และแม้แต่สุขภาพ

assessment teacher🙍

คุณครูกรรณิการ์ สอนสนุก เข้าใจง่าย คอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับสารนิทัศน์

assessment friend 🚶🚶

เพื่อนๆตั้งใจเรียทำกิจกรรม ให้ความร่วมมือ ไม่คุยเสียงดัง

assessment me👩

ตั้งใจทำกิจกรรม



🌈บันทึกครั้งที่ 9🌈

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2562

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย


Learning Provision in Early Childhood Education


🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵

💜Story of subject💜


วันนี้คุณครูจ๋าได้ให้พวกเราศึกษาแผนการสอนของพี่ๆ
 ในเรื่องของกิจกรรมเคลื่อนไหวและเข้าจังหวะ

แผนการสอน คือ การนำวิชาหรือกลุ่มประสบการณ์ที่ต้องทำการสอน ตลอดภาคเรียนมาสร้างเป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อ อุปกรณ์การสอน การวัดและการประเมินผล สำหรับเนื้อหาสาระและจุดประสงค์การเรียนการสอนย่อยๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุ
ประสงค์หรือจุดเน้นของหลักสูตร สภาพผู้เรียน ความพร้อมของโรงเรียนในด้านวัสดุอุปกรณ์ และตรงกับชีวิตจริงในท้องถิ่น ซึ่งถ้ากล่าวอีกนัยหนึ่ง แผนการสอนคือ การเตรียมการสอนเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ล่วงหน้า ารเตรียมการสอนเริ่มด้วยการจัดทำแผนการสอน ซึ่งเป็นผลมาจากการวางแผน มาสร้าง
เป็นแผนการสอนย่อยๆ 
องค์ประกอบที่สำคัญของแผนการสอน ควรมีดังนี้
1. สาระสำคัญ
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
3. เนื้อหา
4. กิจกรรมการเรียนการสอน
5. สื่อการเรียนการสอน
6. การวัดและประเมินผลการเรียน

ความสำคัญของการวางแผนการสอน
                การวางแผนการสอน เป็นงานสำคัญของครูผู้สอน การสอนจะประสบผลสำเร็จด้วยดีหรือไม่มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการวางแผนการสอนเป็นสำคัญประการหนึ่ง ถ้าผู้สอนมีการวางแผนการสอนที่ดีก็เท่ากับบรรลุจุดหมายปลายทางไปแล้วครึ่งหนึ่ง 
การวางแผนการสอนจึงมีความสำคัญหลายประการ ดังนี้

                1. ทำให้ผู้สอนสอนด้วยความมั่นใจเมื่อเกิดความมั่นใจในการสอน
                2. ทำให้เป็นการสอนที่มีคุณค่าคุ้มกับเวลาที่ผ่านไป 
                3. ทำให้เป็นการสอนที่ตรงตามหลักสูตร 
                4. ทำให้การสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพดีกว่าการสอนที่ไม่มีการวางแผน
                5. ทำให้ผู้สอนมีเอกสารเตือนความจำ สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการสอนต่อ
                6. ทำให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อผู้สอนและต่อวิชาที่เรียน 

หลังจากนั้นคุณครูจ๋าได้แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่มและให้สมาชิกแต่ละกลุ่มวาดภาพแล้วให้เพื่อนกลุ่มอื่นๆทายว่าวาดรูปอะไร







assessment teacher🙍

คุณครูจ๋าสอนสนุก เข้าใจง่าย
คอยให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม

assessment friend 🚶🚶

เพื่อนๆตั้งใจเรียนดูกิจกรรม ให้ความร่วมมือ ไม่คุยเสียงดัง

assessment me👩

ตั้งใจทำกิจกรรม




🌈บันทึกครั้งที่ 8🌈

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2562

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย


Learning Provision in Early Childhood Education


🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵🌵

💜Story of subject💜


วันนี้พวกเราได้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง โปรเจกต์

การเรียนรู้ แบบ “Project Approach”  

เป็นวิธีการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพให้แก่เด็กเพื่อเตรียมพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21 และ ศตวรรษต่อๆไป Project Approach ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กอย่างลุ่มลึกด้วยตนเอง สอนให้เด็กรู้วิธีการเรียนรู้ (Learning to Learn) ทำให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองต่อไปได้ตลอดชีวิต และยังสอนวิธีการคิดรูปแบบต่างๆ (Learning to Think) ให้แก่เด็กอีกด้วย ทำให้เด็กสามารถพิจารณาข้อมูลอย่างมีเหตุมีผล นำข้อมูลมาเปรียบเทียบวิเคราะห์ สังเคราะห์ พิจารณาถึงความถูกต้องและประโยชน์ได้ตามวัย การเรียนรู้แบบ Project Approach บูรณาการวิชาต่างๆให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างมีความหมายและเป็นที่สนใจของเด็ก ไม่ว่าจะเป็น คณิตศาสตร์ ภาษา วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษา หรือประวัติศาสตร์ การเรียนรู้แบบ Project Approach เป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายในวงการการศึกษาในหลายประเทศทั่วโลกว่าเป็นวิธีการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง (Brain Based Learning) 

ระยะที่1 – เริ่มต้น

เด็กๆเลือกว่าจะศึกษาเรื่องอะไร โดยครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ เด็กๆอภิปรายว่า มีความรู้เดิมอะไร เกี่ยวกับเรื่องที่เลือกแล้วบ้าง ครูช่วยให้เด็กๆบันทึกความคิดของเด็กๆ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น วาด ปั้น จำลอง ฯลฯ เด็กๆบอกข้อสงสัยที่เด็กๆมีเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆจะเรียนรู้ และครูช่วยให้เด็กๆสรุปตั้งคำถามที่เด็กๆต้องการ หาคำตอบในระหว่างการสำรวจสืบค้นครั้งนี้ และบันทึกคำถามเหล่านั้น เด็กๆพูดคุยเกี่ยวกับว่าคำตอบที่เด็กๆจะสำรวจสืบค้นได้นั้น น่าจะเป็นอะไร อย่างไร ครูช่วยเด็กๆบันทึกความคาดคะเนของเด็กๆไว้ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในภายหลัง

Project Approach ระยะที่2 – การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้

ครูช่วยเด็กๆวางแผนไปสถานที่ต่างๆ ที่เด็กๆสามารถสำรวจ สืบค้นได้ รวมถึงการจัดหาวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กๆสนใจเรียนรู้ ที่จะสามารถตอบคำถามของเด็กๆได้ มาให้ความรู้กับเด็กๆ เด็กๆใช้หนังสือและคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูล โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเหลือ ในระหว่างกิจกรรมในวงกลมที่เด็กๆสามารถประชุมร่วมกัน และนำเสนอรายงานสิ่งที่เด็กๆค้นพบในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นระยะ ครูส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กๆถามคำถามและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆแต่ละคนได้ค้นพบคำตอบหรือเรียนรู้ด้วย เด็กๆวาดภาพ ถ่ายภาพ เขียนคำและป้ายต่างๆ สร้างกราฟและหรือแผนภูมิสิ่งที่เด็กๆวัดและนับ แล้วเด็กๆก็สร้างจำลองสิ่งที่เด็กๆสนใจเรียนรู้กัน เมื่อเด็กๆเรียนรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เด็กๆสามารถพิจารณาทบทวนและเพิ่มเติมหรือทำจำลองใหม่ให้ดีขึ้นกว่าเดิมไปได้เรื่อยๆด้วย

Project Approach ระยะที่3 – การสรุป Project

เด็กๆอภิปรายกันถึงหลักฐานต่างๆที่เด็กๆได้สืบและค้นพบที่ช่วยให้เด็กๆตอบคำถามที่เด็กๆตั้งไว้ได้ และเด็กๆจะได้เปรียบเทียบสิ่งที่เด็กๆเรียนรู้กับความรู้เดิมของเด็กๆว่าตรงกันหรือไม่ รวมถึงเปรียบเทียบกับการคาดคะเนของเด็กๆที่ทำไว้ตั้งแต่ระยะแรกด้วย เด็กๆช่วยกันวางแผนจัดแสดงให้ผู้ปกครองและเพื่อนๆ และบุคคลอื่นๆได้เห็น วิธีการเรียนรู้ กิจกรรม ผลงาน และสิ่งที่เด็กๆค้นพบเรียนรู้ เด็กๆลงมือจัดแสดงเพื่อแบ่งปันความรู้และเรื่องราวเกี่ยวกับ “ Project Approach ” ของเด็กๆ ครูจะได้ช่วยสนับสนุนส่งเสริมนักสืบรุ่นจิ๋วเหล่านี้วางแผน และดำเนินการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆทำ และค้นพบกันอย่างสนุกสนาน กระตือรือร้นและภาคภูมิใจ



assessment teacher🙍

คุณครูจ๋าสอนสนุก เข้าใจง่าย คอยให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม

assessment friend 🚶🚶

เพื่อนๆตั้งใจเรียนดูกิจกรรม ให้ความร่วมมือ ไม่คุยเสียงดัง

assessment me👩

ตั้งใจทำกิจกรรม มาเรียนตรงเวลา